0

สกรูหัวจม 4 แบบ ใช้งานต่างกันอย่างไร

2019-12-27 14:56:41 ใน บทความที่น่าสนใจ » 0 9027


ข้อสงสัย ที่ว่า
1. สกรูหัวจมมีตั้งหลายแบบ แต่ละแบบใช้งานต่างกันอย่างไร?
2. ขึ้นชื่อว่า “จม” แล้วตอนใช้งาน “จม” หรือไม่ อย่างไร?

ส่วนคำตอบจะเป็นอย่างไร
ขอให้เรา เล่าให้ฟัง

พร้อมตัวอย่างการเลือกใช้งาน แบบง่ายๆ
เพื่อช่วยคุณลูกค้า เลือกใช้ได้อย่างมั่นใจ





หัวจม (Hex. Socket Head Cap Screws)
วัสดุ: SCM435 (Class 10.9) เหล็กเหนียว ทนแรงบิดสูง

ถูกเลือกใช้งานมากที่สุด เกิน 90% ในงาน Aluminum Profile System
จากภาพจะเห็นว่า ด้วยพื้นที่ที่จำกัด ถ้าเราใช้สกรูหัวเหลี่ยม
เราจะไม่สามารถใช้ประแจปากตาย หรือประแจแหวน ในการขันสกรูได้

ดังนั้นสกรูหัวจม จึงเป็นตัวเลือกหลักในงานของเรา

ลักษณะการใช้งาน จะเป็นแบบทั้ง “จม ” และ “ไม่จม” ลงในชิ้นงาน
ตามภาพตัวอย่างเลย





หัวจมกลม (Hex. Socket Button Head Cap Screws)
วัสดุ: SCM435 (Class 10.9) เหล็กเหนียว ทนแรงบิดสูง

เพราะหัวดูมนๆ เลยถูกเรียกว่า “จมกลม”
แต่การใช้งานส่วนใหญ่จะ “ไม่จม ลงในชิ้นงาน”

ด้วยคุณสมบัติที่ หัวเตี้ยกว่าหัวจมธรรมดา ในแบบแรก
จึงเหมาะกับงานในที่แคบมากๆ
โดยเฉพาะงานยึดลูกล้อ ตามภาพจะเห็นว่า เพราะหัวสกรูที่เตี้ย
ทำให้หลบการหมุนของลูกล้อ ในขณะที่ล้อหมุนควงได้ดีทีเดียว





หัวจมแฉก (Cross Recessed Flat Head Screws)
วัสดุ: SWCH เหล็กเหนียวธรรมดา

ผลิตจากเหล็กขาวความแข็งแรงปานกลาง
ประกอบกับสามารถใช้ไขควงแฉกในการขัน

นั่นแปลว่าเหมาะกับงานที่ไม่ได้รับแรงมาก เช่น งานยึดบานพับ ตามภาพ เป็นต้น
ส่วนตอนใช้งานก็ “จม ลงในชิ้นงาน” สมชื่อ





หัวจมเทเปอร์ (Hex. Socket Flat Head Cap Screws)
วัสดุ: SCM435 (Class 10.9) เหล็กเหนียว ทนแรงบิดสูง

มองให้ดีจะเห็นว่า คล้ายกับสกรูหัวจมแฉก มาก
ต่างกัน 2 จุด คือ
1. ถูกออกแบบมาให้ใช้ประแจแอล ในการขัน
2. ผลิตจากวัสดุที่เหนียว และแข็งกว่า

หมายความว่าเหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรง และการจับยึดที่มั่นคงกว่าหัวจมแฉก
เช่นงาน Jigs & Fixtures เป็นต้น
ส่วนตอนใช้งานก็ “จม ลงในชิ้นงาน” สมชื่อ เช่นกัน